คลิป

นายร้อยตำรวจ


โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้ย้ายสถานที่ตั้งไปหลายครั้ง กระทั่งมีที่ตั้งล่าสุดที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีลำดับดังนี้
  • สมัยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร นครราชสีมา พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447
  • สมัยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2458
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ ต.ห้วยจรเข้ จ.นครปฐม ตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ถวายความเห็น)
  • สมัยที่ 3 โรงเรียนนายหมวด คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464
  • สมัยที่ 4 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2476
  • สมัยที่ 5 โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2489
  • สมัยที่ 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปทุมวัน กรุงเทพ พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2498
  • สมัยที่ 7 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน พ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน


โครงสร้างส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

  • สำนักเลขานุการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • กองบังคับการปกครอง


    • ฝ่ายอำนวยการ
    • ฝ่ายปกครอง 1 (ปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 1 - 4)
    • ฝ่ายปกครอง 2 (ปกครองนักเรียนอบรม)
    • ฝ่ายปกครอง 3 (ปกครองนักเรียนเตรียมทหาร โดยปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงเรียนเตรียมทหาร อ.บ้านนา จ.นครนายก)
    • ฝ่ายกิจกรรมนักเรียน
  • กองบังคับการอำนวยการ


    • ฝ่ายอำนวยการ 1
    • ฝ่ายอำนวยการ 2
    • ฝ่ายอำนวยการ 3
    • ฝ่ายอำนวยการ 4
  • ศูนย์บริการทางการศึกษา (เทียบกองบังคับการ)
  • ศูนย์ฝึกตำรวจ (เทียบกองบังคับการ)


    • งานอำนวยการ
    • กลุ่มงานยุทธวิธีตำรวจ
    • กลุ่มงานพละศึกษา
    • กลุ่มงานแบบธรรมเนียมตำรวจ
  • คณะตำรวจศาสตร์


    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • คณะสังคมศาสตร์


    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • คณะนิติวิทยาศาสตร์


    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ

[แก้]หลักสูตร

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาอบรมและดำเนินการฝึกนักเรียนนายร้อยตำรวจ ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการตำรวจ และการบริหารงานตำรวจ จึงจัดการเรียนการสอนใน "หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ" นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน เช่น ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน


ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พร้อมกับหน่วยตำรวจอื่นรวม 6 หน่วย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ณ ลานพระราชวังดุสิต

ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจและธงชัยหน่วยตำรวจอื่นๆ ในพิธีถวายคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันตำรวจ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน
โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้รับพระราชทานธงชัยประจำหน่วยตำรวจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับหน่วยอื่นของตำรวจอีก 5 หน่วย เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ผืนธงมีลักษณะเช่นเดียวกับธงชาติ ภายในยอดธงบรรจุเส้นพระเกศาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็กเรียกว่า "พระยอดธง" เอาไว้ ธงชัยจึงถือเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหล่าข้าราชการตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจ และปวงชนชาวไทยให้ความเคารพ
ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ มีลักษณะและการได้มาเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของทหารทุกประการ โดยสำนักราชเลขาธิการได้บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" นี้ไว้ ตามหลักฐานต่างๆปรากฏชื่อธงดังกล่าว ได้แก่ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" "ธงชัยประจำกอง" "ธงชัย" "ธงประจำกอง" ซึ่งก็คือธงเดียวกัน ในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันตำรวจ คณะนายตำรวจปกครองและนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะทำการอัญเชิญธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ไปทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม

อุดมคติของตำรวจ

เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปราณีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
พระนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกองค์ที่ 16 เมื่อพุทธศักราช 2499

เพลงประจำสถาบัน

  1. มาร์ช นรต. (เพลงมาร์ชประจำสถาบัน)
  2. มาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ (เพลงประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. สามพราน
  4. สนสามพราน
  5. ขวัญดาว
  6. ลาก่อนสามพราน
  7. ลาแล้วสามพราน
  8. สามพรานแดนดาว

[แก้]นักเรียนนายร้อยตำรวจ

[แก้]คำขวัญประจำชั้นปี

นรต.ทั้ง 4 ชั้นปีจะมีคำขวัญของชั้นปีตนเองที่จะบ่งบอกถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงภารกิจที่ได้รับหมอบหมาย
ชั้นปีที่ 1 "ขันตีอุตสาหะ" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 1 ต้องมีความอดทนอดกลั้นและความวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ เพื่อที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆได้ไปจนตลอดรอดฝั่ง
ชั้นปีที่ 2 "วิจัยกรณี" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 2 จะต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะในการวินิจฉัย พิจารณาในสิ่งต่างๆ รู้จักการวางตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ชั้นปีที่ 3 "รักษ์วินัย" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 3 จะต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยอย่างดีเยี่ยม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้ถ่ายทอด ปลูกฝังความเป็น นรต.ให้แก่รุ่นต่อๆไป
ชั้นปีที่ 4 "เกียรติศักดิ์" 
หมายถึง นรต.ชั้นปีที่ 4 จะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง สมกับเป็นผู้ที่มีเกียรติ และเตรียมพร้อมสู่ความเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ "เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"

สีประจำชั้นปี

สีประจำชั้นปีนี้จะถูกใช้เป็นสีประจำกองร้อย(อาคารนอน)และเป็นสีหมวก ซึ่งการเลื่อนชั้นการศึกษาของ นรต.นั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มี พิธีประดับเลขชั้นปีและเปลี่ยนหมวกสี แล้ว ซึ่งจะกระทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากมี พิธีวิ่งรับหมวก (Long March) ในวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา

[แก้]เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยตำรวจ

เครื่องแบบ และชุดของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีทั้งสิ้นจำนวน 16 ชุด
  • เครื่องแบบเต็มยศ
  • เครื่องแบบครึ่งยศ
  • เครื่องแบบสโมสรปิดอก
  • เครื่องแบบปกติขาว
  • เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะสีกากี
  • เครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับสีกากี
  • เครื่องแบบฝึกสีกากี
  • ชุดศึกษาดูงาน
  • ชุดศึกษา
  • ชุดฝึกภาคสนามสีกากีแกมเขียว (ชุดฟาติก)
  • ชุดฝึกภาคสนามกากีแกมเขียวปล่อยชาย (ชุดเวสต์)
  • ชุดยิงปืน
  • ชุดลำลอง
  • ชุดกีฬาขาสั้น
  • ชุดกีฬาขายาว
  • ชุดวอร์ม
หมวก มีทั้งสิ้น 7 แบบ
  • หมวกปีกทรงแข็งสีกากี มียอดโลหะสีเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี มีสายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีขาว สายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี
  • หมวกหนีบ
  • หมวกแก๊ปทรงตึงสีประจำกองร้อย
  • หมวกแก๊บทรงอ่อนสีดำ
  • หมวกเบเร่ต์สีดำ
รองเท้า มีทั้งสิ้น 4 แบบ
  • รองเท้าหนังครึ่งน่องสีดำ
  • รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ
  • รองเท้าฝึกครึ่งน่องหนังสีดำ
  • รองเท้ากีฬาผ้าใบหุ้มส้นสีขาว
ส่วนประกอบเครื่องแบบ
  • ตราแผ่นดินหน้าหมวก
  • อาร์มคอรูปตราสัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจสีเงิน
  • อินทธนูแข็งสีแดงเลือดหมูประดับสายพาดดิ้นเงิน
  • เครื่องหมาย "ร"
  • เครื่องหมายเลขไทยตามชั้นปี
  • ป้ายชื่อโลหะ
  • แพรแถบข้าราชการตำรวจ
  • กระบี่สั้นนักเรียนนายร้อยตำรวจพร้อมสายโยงกระบี่
  • กระบี่ยาวนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรชาย พร้อมสายโยงกระบี่และขอเกี่ยวกระบี่สามชาย (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
เครื่องหมายการผ่านการฝึก และความสามารถพิเศษประกอบเครื่องแบบ
  • เครื่องหมายหลักสูตรต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.)
  • เครื่องหมายหลักสูตรการโดดร่ม จากกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตชด.(ค่ายนเรศวร)ปีกร่มชนิดทำด้วยดิ้น
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนพกในระบบ เอ็น.อาร์.เอ (N.R.A.)
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนยาว
  • เครื่องหมายความสามารถอื่นๆ
อุปกรณ์ประจำกายอื่นๆ
  • อาวุธปืนสั้น (ใช้ในการฝึก)
  • อาวุธปืนเล็กยาว ปลย.11,HK (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
  • ถุงมือ (ใช้ในการฝึกหัดปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่จราจร)
  • วิทยุสื่อสาร
  • นกหวีด
  • กุญแจมือ

[แก้]หลักสูตรต่างๆของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

นอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องศึกษาภาควิชาการ และการอบรมหล่อหลอมด้านความคิดจิตวิญญาณแล้ว นรต.ทั้งหมดจะต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรต่างๆดังต่อไปนี้
  • หลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ(ตปส.)สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลักสูตรพ่อแม่สมมุติ" ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรการโดดร่ม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร) หลักสูตรนี้ไม่เป็นหลักสูตรบังคับ หากไม่เข้ารับการฝึก จะต้องฝึกหลักสูตรอื่นๆทดแทน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 โดยให้ฝึกงานสายป้องกันปราบปราม,สืบสวน,จราจร,อำนวยการ ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยส่งตัวให้ไปฝึกในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรต่างๆ
  • หลักสูตรฝึกหัดงานสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ฝึกหลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยส่งตัวให้ฝึกในสถานีตำรวจนครบาลต่างๆ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงประดับยศเป็นว่าที่ ร.ต.ต.โดยส่งตัว นรต.ชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้รับการฝึก ณ สถาบันส่งสริมงานสอบสวน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ใช้ระยะเวลาฝึกเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งต่างๆในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66)เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน






นายเรืออากาศ


ก่อนปี พ.ศ. 2493 กองทัพอากาศรับบุคลากรที่ผลิตจากสถาบันการศึกษาอื่นและมหาวิทยาลัยเข้าทำงานในกองทัพอากาศ ต่อมาภารกิจและกิจการของกองทัพอากาศมีมากขึ้น ประกอบกับยังไม่มีสถาบันที่จะผลิตนายทหารสัญญาบัตรของตนเอง นอกจากนี้ กองทัพ อากาศต้องการนายทหารที่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชามากกว่าความรู้ทั่วไป จึงได้เตรียมการเริ่มตั้ง "โรงเรียนนายเรืออากาศ" เพื่อผลิตนายทหารหลักให้กับกองทัพอากาศ แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดประกอบกับปัญหาบางประการจึง ทำให้การก่อตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศต้องล่าช้าออกไปนานนับทศวรรษ
ใน พ.ศ. 2493 กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ได้เสนอเสนาธิการทหารอากาศว่า นายทหารของกองทัพอากาศ ควรจะได้รับการ ศึกษา และการฝึกฝนตลอดระยะเวลาที่ รับราชการอยู่ในกองทัพอากาศ ในปีต่อมา เสนาธิการทหารอากาศได้มีคำสั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศเตรียมโครงการเพื่อเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศโดยละเอียด
โครงการจัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศได้รับนโยบายและความเห็นชอบจากผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น จึงเสนอโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะรัฐบาลคณะรัฐมนตรีได้ประชุมลงมติอนุมัติ ใน พ.ศ. 2495


สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

ลักษณะของสัญลักษณ์ประจำสถาบัน เป็นรูปอาร์มคาดแถบธงไตรรงค์ในแนวเฉียง ประดับปีกนกกางทั้ง 2 ข้าง สีทอง ภายใต้อุณาโลม สีเงิน และพระมหามงกุฎรัศมี สีทอง (ปีกนักบินชั้นที่ 1) เหนือดาว 5 แฉก สีเงิน รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ สีทอง ทั้งหมดบรรจุอยู่ในวงกลม สีฟ้า ใต้วงกลมมีแถบปลายแฉกสะบัดลงทั้ง 2 ข้าง สีเหลือง กลางแถบมีคำว่า "โรงเรียนนายเรืออากาศ" สีน้ำเงินดำ
  • ปีกนักบินชั้นที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ของนักบินทหารอากาศ แสดงถึงนักเรียนนายเรืออากาศซึ่งสำเร็จออกเป็นนายทหารสัญญาบัตร และจะเป็นนักบินของทหารอากาศต่อไป
  • ดาว 5 แฉกสีเงิน แสดงถึง ความมีเกียรติ นักเรียนนายเรืออากาศทุกคนมุ่งมั่นปรารถนาที่จะรับราชการให้มีความก้าวหน้าสูงถึงขั้นนายพลอากาศ
  • ช่อชัยพฤกษ์ใบสีทอง แสดงถึง ความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียนนายเรืออากาศ เพื่อที่ออกไปรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรต่อไป
  • วงกลมสีฟ้า และแถบปลายแฉกสะบัดสีเหลือง โดยสีฟ้า-เหลือง เป็นสีประจำโรงเรียนนายเรืออากาศ



นายเรือ


โรงเรียนนายเรือก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่ตั้งเดิมอยู่ที่บริเวณพระราชวังเดิมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 กองทัพเรือได้ถือเอาวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น วันกองทัพเรือ
ใน พ.ศ. 2495 ได้ย้ายโรงเรียนมาที่ที่อยู่ปัจจุบัน คือ ป้อมเสือซ่อนเล็บ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ
การเปิดสอนในช่วงแรก ได้จ้างชาวต่างชาติมาสอน มี นาวาโท ไซเดอร์ลิน ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้บังคับการ ร.ล. มูรธาวสิตสวัสดิ์ ในปี พ.ศ. 2448 นายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปรับปรุงหลักสูตร และอำนวยการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2449-2454


โครงสร้างหน่วย


ธงชัยเฉลิมพลประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายเรือมีสถานะเป็นหน่วยราชการในระดับเทียบเท่ากองบัญชาการ มีการจัดส่วนราชการภายในดังนี้
กองบัญชาการ 
มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา วางแผน อำนวยการ ควบคุม และบริหารกิจการของโรงเรียนนายเรือให้บรรจุภารกิจที่กำหนด
กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ 
มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา และฝึกอบรมนักเรียนนายเรือในเรื่องการปลูกฝังนิสัย วินัย จิตวิทยา ความอดทน และลักษณะผู้นำ (หน่วยนี้เดิมเรียกชื่อว่า "กองนักเรียน โรงเรียนนายเรือ" กองทัพเรือได้ยกฐานะเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2521 ในชื่อ "กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ" (กอง นนร.รอ.รร.นร.) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ" ใช้อักษรย่อว่า "กรม นนร.รอ.รร.นร."[1])
ฝ่ายศึกษา 
มีหน้าที่ให้การศึกษาวิชาการอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี และวิชาชีพทหารเรือแก่นักเรียนนายเรือ
ฝ่ายบริการ 
รับผิดชอบงานด้านพลาธิการ การขนส่ง การสาธารณูปโภค อุปกรณ์และเครื่องช่วยการศึกษา การบำรุงรักษาอาคาร สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ ให้บริการทั่วไปและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ ในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางวัตถุและองค์บุคคล รวมทั้งเป็นหน่วยในการศึกษาภาคปฏิบัติในโรงงานแก่นักเรียนนายเรือ
กองสถิติและวิจัย 
มีหน้าที่การดำเนินการเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาและทะเบียนประวัติของนักเรียนนายเรือ วิจัยและพัฒนาการฝึกและศึกษา รวมทั้งการสถิติที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ 
รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลแก่นักเรียนนายเรือ ข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง และครอบครัว ตลอดจนดำเนินการด้านสุขาภิบาล และการเวชกรรมป้องกันในเขตพื้นที่ของโรงเรียนนายเรือ
กองร้อยรักษาความปลอดภัยที่ 6 (หน่วยสมทบ) 
มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงเรียนนายเรือและพื้นที่ในความรับผิดชอบของโรงเรียนนายเรือ


หลักสูตร

หลักสูตรต่าง ๆ จะเปิดสอนตามความต้องการของกองทัพเรือเป็นหลัก โดยปัจจุบัน มีหลักสูตรที่เปิดสอน ดังนี้
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

การส่งนักเรียนนายเรือไทยไปศึกษาต่างประเทศ


นักเรียนนายเรือในเครื่องแบบเต็มยศทหารรักษาพระองค์ สังกัดกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงรากฐานของกองทัพเรือตามแบบแผนใหม่แล้ว ได้ทรงส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปศึกษายังต่างประเทศ พระราชโอรสที่ทรงศึกษาวิชาทหารเรือมี ๓ พระองค์คือ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
ต่อมาได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ที่จะบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นักเรียนนายเรือไปศึกษาต่อยังต่างประเทศด้วย ตามประกาศของกรมทหารเรือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ว่า "ครั้นเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ให้กรมทหารเรือ ฝึกหัดนักเรียนนายเรือให้เรียบร้อย ถ้านักเรียนคนใดได้เล่าเรียนฝึกหัดได้สมควรที่จะส่งไปเล่าเรียนวิชา ณ ต่างประเทศ จะทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์พระราชทานให้กรมทหารเรือส่งนักเรียนออกไปเรียนทุกปี"
นักเรียนนายเรือที่รับพระราชทานทุนการศึกษาชุดแรกคือชุดที่ไปศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๒๔๔๘ มีรายนามดังนี้
  • นนร.ม.จ.เจริญสุขโสภาคย์ เกษมสันต์ (เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๐ ๒๔๗๐-๒๔๗๕ ยศสุดท้าย นาวาโท)
  • นนร.บุญรอด(บุญชัย) สวาทะสุข (พล.ร.ต.พระยาวิจารณ์จักรกิจ ร.น. ได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๑๒ ๒๔๗๖-๒๔๘๑ และผบ.ทร. และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง)
  • นนร.แดง ลางคุลเสน (พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี รน.เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๑๑ ๒๔๗๕,๒๔๙๖-๙๘ ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน )
  • นนร.พัน ลางคุลเสน
  • นนร.วงศ์ สุจริตกุล (พล.ร.ต. พระจักรานุกรกิจ ร.น.เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๔ ๒๔๘๑-๘๙)
  • นนร.เจริญ ประทีปะเสน
  • นนร.วาศ พิทศาสตร์
(ในคณะของนักเรียนนายเรือชุดนี้มีนักเรียนสมทบเพื่อไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น อีก ๔ นายคือ ม.จ.เสพโสมนัส เทวกุล นายประทีป บุนนาค นายชัย บุนนาค และนายพร้อม บุณยกะลิน)
นักเรียนนายเรือชุดแรกนี้เมื่อกลับมารับราชการในกองทัพเรือแล้ว ได้มีบทบาทในการสร้างสมุททานุภาพของกองทัพเรือ การพัฒนาการทางช่างของกรมอู่ทหารเรือ และได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศในหลายสาขาจนเป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
หลังจากนั้นกองทัพเรือได้จัดส่งนักเรียนนายเรือไปศึกาต่ออีกรุ่นหนึ่งคือ ๒๔๕๙ นนร.สินธุ์ กมลนาวิน ไปศึกษาวิชาการทหารเรือประเทศเดนมาร์ค (อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ สมาชิกคณะราษฎร รัฐมนตรีวาการกระทรวงธรรมการ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงกลาโหม และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ๒๔๖๕ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศอังกฤษ (นนร.ผาด แสงชูโต นนร.สรรใจ บุนนาค นนร.สมพันธุ์ บุนนาค) ๒๔๙๔ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศอังกฤษ (นนร.อำนาจ จันทนะมัฎฐะ นนร.ไพบูลย์ นาคสกุล) ๒๔๙๔ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศเนเธอร์แลนด์ (นนร.ประกอบ นิโครธานนท์) ๒๔๙๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสเปน (นนร.เกาะหลัก เจริญรุกข์ นนร.วินัย อินทรสมบัติ) ๒๔๙๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา ๒๔๙๘ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสวีเดน ๒๔๙๙ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศฝรั่งเศส ๒๕๐๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศเยอรมัน (นนร.ไพศาล ไล่เข่ง (นพสินธุวงศ์) นนร.เทวินทร์ มุ่งธัญญา)

[แก้]นักเรียนนายเรือไทยในประเทศอังกฤษ

หลังจากส่ง นนร.ไปศึกษายังประเทศญี่ปุ่นชุดแรก (๒๔๔๘)นั้นแล้ว ต่อมากองทัพเรือได้ยึดถือเอาพระราโชบายในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์บุคคล โดยได้จัดส่งนักเรียนนายเรือไปศึกษาต่ออีกหลายประเทศ โดยประเทศแรกที่ส่งไปเรียนคือประเทศอังกฤษ ที่รวบรวมได้มีรายนามดังต่อไปนี้คือ
  • พ.ศ. 2465 นนร.สรรใจ บุนนาค ([2], ศึกษา ณ Loughborough Engineering College, Civil Engineering ยศสุดท้าย พลเรือตรี เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมโยธาธิการทหารเรือ )
  • พ.ศ. 2465 นนร.ฉาด แสง-ชูโต (Loughborough College ยศสุดท้าย พลเรือตรี) เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาโรงงานหล่อหลอมของกรมอู่ทหารเรือด้วยการสร้างเตาคิวโพล่าเป็นครั้งแรก ภายหลังจากออกจากราชการแล้ว ได้ไปพัฒนาระบบบริหารงานโลจิสติกส์ของระบบโรงงานอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2466 นนร.สมพันธุ์ บุนนาค (ศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์,ยศสุดท้าย พลเรือตรี [3] ในตำแหน่งเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ พลเรือตรีสมพันธุ์ บุนนาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน ไทยไปร่วมประชุมคณะผู้ว่าการทบวงพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย ๓ ครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ๒๕๐๕ และ ๒๕๐๗ และได้ไปประชุมใหญ่ของสหประชาชาติครั้งที่ ๓ เรื่องการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ )
  • พ.ศ. 2494 นนร.อำนาจ จันทนะมัฎฐะ (ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ได้รับการจารึกชื่อในสามัคคีสมาคม กรุงลอนดอน และได้ที่ 1 ของสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับการเชิดชูเกียรติในการเชิญธงชาติไทยขึ้นประดับ ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ทุกวันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปี ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ๒๕๓๒-๓๔ ยศสุดท้าย พลเรือเอก [4] ฉบับที่ 84 เล่มที่ 8 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มจธ. เมื่อ ๒๕๓๓ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัทพาณิชย์นาวีในตลาดหลักทรัพย์[5] และโรงพยาบาลเอกชน)
  • พ.ศ. 2494 นนร.ไพบูลย์ นาคสกุล (ศึกษา มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับการจารึกชื่อในสามัคคีสมาคม กรุงลอนดอน ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ยศสุดท้าย พลเรือเอก )
  • พ.ศ. 2503 นนร.บรรพต เอกะวิภาต
  • พ.ศ. 2505 นนร.เกรียงศักดิ์ ศรีภูมิ ยศสุดท้าย พลเรือเอก
  • พ.ศ. 2507 นนร.สุชาติ กลศาสตร์เสนี ยศสุดท้าย พลเรือเอก
  • พ.ศ. 2520 นนร.เอกชัย ตรุศบรรจง (B.Sc.Mechanical Engineering, Manchester, M.Sc.,Ph.D., Imperial College, ปัจจุบัน ยศ พลเรือตรี ทำงานภาคเอกชน) [6]
  • พ.ศ. 2521 นนร.บรรพต กาบคำ
  • พ.ศ. 2522 นนร.เศวตนันท์ ประยูรรัตน์ [7](B.Sc.Mechanical Engineering, Birmingham, Ph.D. Birmingham ปัจจุบัน ยศ พลเรือตรี ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการ องค์การมหาชนสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2520 และรางวัลนักวิจัยดีเด่น)
  • พ.ศ. 2523 นนร.บุญฤทธิ์ โผกรุด (B.Sc.Electrical Engineering,Southampton Univ., Ph.D., Imperial College ปัจจุบัน ยศ พลเรือตรี ทำงานภาคเอกชน ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2521-22)
  • พ.ศ. 2524 นนร.สมัย ใจอินทร์ (B.Sc.Mechanical Engineering, Bristol Univ., M.Sc.,Ph.D. UMIST, Manchester ปัจจุบัน ยศ น.อ.พิเศษ สังกัดอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2523 รางวัลเกียรติยศนาวี 2551 รางวัลผู้นำวิทยาศาสตร์พลังงานทางเลือกดีเด่นแห่งชาติสาขาเทคโนโลยีไบโอดีเซล ปี ๒๕๕๒ จาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [8] [9] รายละเอียดการสัมภาษณ์จากนาวิกศาสตร์ ปี่ที่ 87 ฉบับที่ 09 กันยายน 2547 )
  • พ.ศ. 2525 นนร.อัตตะวีร์ ทักษรานุพงศ์ (B.Eng. Manadon, M.Eng. Surray ปัจจุบัน ยศ น.อ.พิเศษ ศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ)
  • พ.ศ. 2526 นนร.นฤเทพ โชคเจริญวานิช (B.Eng. Manadon, M.Eng.,Surray, Ph.D.Imperial) ยศปัจจุบัน นาวาเอกพิเศษ ลาออกจากราชการแล้วและทำงานภาคเอกชน[10]
  • พ.ศ. 2527 นนร.กิตติ กิตติศัพท์ (ชอบทำตัวลึกลับ หายสาบสูญไปจากสารบบ ไม่สามารถติดต่อได้)
  • พ.ศ. 2528 นนร.วิชาญ สีดา และ นนร.บุญสืบ จันทรวงศ์ (ปัจจุบัน ยศ น.อ.)
  • พ.ศ. 2529 นนร.ดนัย ปฏิยุทธ์
  • พ.ศ. 2530 นนร.อภิรักษ์ กลิ่นกุหลาบ
  • พ.ศ. 2532 นนร.กิตติศักดิ์ ดีทองคำ(ปัจจุบัน รับราชการในกรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ)
  • พ.ศ. 2533 นนร.กฤษฎา แสงเพชรส่อง (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Southampton Univ.) ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ รร.นายเรือ
  • พ.ศ. 2534 นร. ศักดา นฤนิรนาท (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Liverpool Univ.) ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ รร.นายเรือ , นนร.กิตติวัฒน์ สุทธิวารี (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Liverpool Univ.) และ นนร. ยศภาค โชติกพงศ์ (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Surrey Univ.)
  • พ.ศ. 2535 นนร.ชลัมพ์ โสมาภา (B.Eng,Ph.D. Mechanical Engineering, Liverpool Univ.)(ปัจจุบัน รับราชการในกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ได้รับรางวัลด้านงานวิจัยหลายโครงการ)
  • พ.ศ. 2536 นนร.ยอดชาย วงศ์สุวรรณ(E.Eng,Ph.D.Electrical&Electronic Engineering, Cardiff Uni.) และ นนร.สุริยะ ศีรษะโคตร (E.Eng,Ph.D.Electrical&Electronic Engineering, Cardiff Uni.)