นายร้อยตำรวจ


โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้ย้ายสถานที่ตั้งไปหลายครั้ง กระทั่งมีที่ตั้งล่าสุดที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีลำดับดังนี้
  • สมัยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร นครราชสีมา พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447
  • สมัยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2458
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ ต.ห้วยจรเข้ จ.นครปฐม ตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ถวายความเห็น)
  • สมัยที่ 3 โรงเรียนนายหมวด คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464
  • สมัยที่ 4 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2476
  • สมัยที่ 5 โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2489
  • สมัยที่ 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปทุมวัน กรุงเทพ พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2498
  • สมัยที่ 7 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน พ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน


โครงสร้างส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

  • สำนักเลขานุการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • กองบังคับการปกครอง


    • ฝ่ายอำนวยการ
    • ฝ่ายปกครอง 1 (ปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 1 - 4)
    • ฝ่ายปกครอง 2 (ปกครองนักเรียนอบรม)
    • ฝ่ายปกครอง 3 (ปกครองนักเรียนเตรียมทหาร โดยปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงเรียนเตรียมทหาร อ.บ้านนา จ.นครนายก)
    • ฝ่ายกิจกรรมนักเรียน
  • กองบังคับการอำนวยการ


    • ฝ่ายอำนวยการ 1
    • ฝ่ายอำนวยการ 2
    • ฝ่ายอำนวยการ 3
    • ฝ่ายอำนวยการ 4
  • ศูนย์บริการทางการศึกษา (เทียบกองบังคับการ)
  • ศูนย์ฝึกตำรวจ (เทียบกองบังคับการ)


    • งานอำนวยการ
    • กลุ่มงานยุทธวิธีตำรวจ
    • กลุ่มงานพละศึกษา
    • กลุ่มงานแบบธรรมเนียมตำรวจ
  • คณะตำรวจศาสตร์


    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • คณะสังคมศาสตร์


    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • คณะนิติวิทยาศาสตร์


    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ

[แก้]หลักสูตร

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาอบรมและดำเนินการฝึกนักเรียนนายร้อยตำรวจ ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการตำรวจ และการบริหารงานตำรวจ จึงจัดการเรียนการสอนใน "หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ" นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน เช่น ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน


ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พร้อมกับหน่วยตำรวจอื่นรวม 6 หน่วย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ณ ลานพระราชวังดุสิต

ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจและธงชัยหน่วยตำรวจอื่นๆ ในพิธีถวายคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันตำรวจ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน
โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้รับพระราชทานธงชัยประจำหน่วยตำรวจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับหน่วยอื่นของตำรวจอีก 5 หน่วย เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ผืนธงมีลักษณะเช่นเดียวกับธงชาติ ภายในยอดธงบรรจุเส้นพระเกศาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็กเรียกว่า "พระยอดธง" เอาไว้ ธงชัยจึงถือเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหล่าข้าราชการตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจ และปวงชนชาวไทยให้ความเคารพ
ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ มีลักษณะและการได้มาเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของทหารทุกประการ โดยสำนักราชเลขาธิการได้บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" นี้ไว้ ตามหลักฐานต่างๆปรากฏชื่อธงดังกล่าว ได้แก่ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" "ธงชัยประจำกอง" "ธงชัย" "ธงประจำกอง" ซึ่งก็คือธงเดียวกัน ในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันตำรวจ คณะนายตำรวจปกครองและนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะทำการอัญเชิญธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ไปทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม

อุดมคติของตำรวจ

เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปราณีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
พระนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกองค์ที่ 16 เมื่อพุทธศักราช 2499

เพลงประจำสถาบัน

  1. มาร์ช นรต. (เพลงมาร์ชประจำสถาบัน)
  2. มาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ (เพลงประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. สามพราน
  4. สนสามพราน
  5. ขวัญดาว
  6. ลาก่อนสามพราน
  7. ลาแล้วสามพราน
  8. สามพรานแดนดาว

[แก้]นักเรียนนายร้อยตำรวจ

[แก้]คำขวัญประจำชั้นปี

นรต.ทั้ง 4 ชั้นปีจะมีคำขวัญของชั้นปีตนเองที่จะบ่งบอกถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงภารกิจที่ได้รับหมอบหมาย
ชั้นปีที่ 1 "ขันตีอุตสาหะ" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 1 ต้องมีความอดทนอดกลั้นและความวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ เพื่อที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆได้ไปจนตลอดรอดฝั่ง
ชั้นปีที่ 2 "วิจัยกรณี" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 2 จะต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะในการวินิจฉัย พิจารณาในสิ่งต่างๆ รู้จักการวางตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ชั้นปีที่ 3 "รักษ์วินัย" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 3 จะต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยอย่างดีเยี่ยม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้ถ่ายทอด ปลูกฝังความเป็น นรต.ให้แก่รุ่นต่อๆไป
ชั้นปีที่ 4 "เกียรติศักดิ์" 
หมายถึง นรต.ชั้นปีที่ 4 จะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง สมกับเป็นผู้ที่มีเกียรติ และเตรียมพร้อมสู่ความเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ "เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"

สีประจำชั้นปี

สีประจำชั้นปีนี้จะถูกใช้เป็นสีประจำกองร้อย(อาคารนอน)และเป็นสีหมวก ซึ่งการเลื่อนชั้นการศึกษาของ นรต.นั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มี พิธีประดับเลขชั้นปีและเปลี่ยนหมวกสี แล้ว ซึ่งจะกระทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากมี พิธีวิ่งรับหมวก (Long March) ในวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา

[แก้]เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยตำรวจ

เครื่องแบบ และชุดของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีทั้งสิ้นจำนวน 16 ชุด
  • เครื่องแบบเต็มยศ
  • เครื่องแบบครึ่งยศ
  • เครื่องแบบสโมสรปิดอก
  • เครื่องแบบปกติขาว
  • เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะสีกากี
  • เครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับสีกากี
  • เครื่องแบบฝึกสีกากี
  • ชุดศึกษาดูงาน
  • ชุดศึกษา
  • ชุดฝึกภาคสนามสีกากีแกมเขียว (ชุดฟาติก)
  • ชุดฝึกภาคสนามกากีแกมเขียวปล่อยชาย (ชุดเวสต์)
  • ชุดยิงปืน
  • ชุดลำลอง
  • ชุดกีฬาขาสั้น
  • ชุดกีฬาขายาว
  • ชุดวอร์ม
หมวก มีทั้งสิ้น 7 แบบ
  • หมวกปีกทรงแข็งสีกากี มียอดโลหะสีเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี มีสายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีขาว สายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี
  • หมวกหนีบ
  • หมวกแก๊ปทรงตึงสีประจำกองร้อย
  • หมวกแก๊บทรงอ่อนสีดำ
  • หมวกเบเร่ต์สีดำ
รองเท้า มีทั้งสิ้น 4 แบบ
  • รองเท้าหนังครึ่งน่องสีดำ
  • รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ
  • รองเท้าฝึกครึ่งน่องหนังสีดำ
  • รองเท้ากีฬาผ้าใบหุ้มส้นสีขาว
ส่วนประกอบเครื่องแบบ
  • ตราแผ่นดินหน้าหมวก
  • อาร์มคอรูปตราสัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจสีเงิน
  • อินทธนูแข็งสีแดงเลือดหมูประดับสายพาดดิ้นเงิน
  • เครื่องหมาย "ร"
  • เครื่องหมายเลขไทยตามชั้นปี
  • ป้ายชื่อโลหะ
  • แพรแถบข้าราชการตำรวจ
  • กระบี่สั้นนักเรียนนายร้อยตำรวจพร้อมสายโยงกระบี่
  • กระบี่ยาวนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรชาย พร้อมสายโยงกระบี่และขอเกี่ยวกระบี่สามชาย (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
เครื่องหมายการผ่านการฝึก และความสามารถพิเศษประกอบเครื่องแบบ
  • เครื่องหมายหลักสูตรต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.)
  • เครื่องหมายหลักสูตรการโดดร่ม จากกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตชด.(ค่ายนเรศวร)ปีกร่มชนิดทำด้วยดิ้น
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนพกในระบบ เอ็น.อาร์.เอ (N.R.A.)
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนยาว
  • เครื่องหมายความสามารถอื่นๆ
อุปกรณ์ประจำกายอื่นๆ
  • อาวุธปืนสั้น (ใช้ในการฝึก)
  • อาวุธปืนเล็กยาว ปลย.11,HK (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
  • ถุงมือ (ใช้ในการฝึกหัดปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่จราจร)
  • วิทยุสื่อสาร
  • นกหวีด
  • กุญแจมือ

[แก้]หลักสูตรต่างๆของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

นอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องศึกษาภาควิชาการ และการอบรมหล่อหลอมด้านความคิดจิตวิญญาณแล้ว นรต.ทั้งหมดจะต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรต่างๆดังต่อไปนี้
  • หลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ(ตปส.)สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลักสูตรพ่อแม่สมมุติ" ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรการโดดร่ม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร) หลักสูตรนี้ไม่เป็นหลักสูตรบังคับ หากไม่เข้ารับการฝึก จะต้องฝึกหลักสูตรอื่นๆทดแทน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 โดยให้ฝึกงานสายป้องกันปราบปราม,สืบสวน,จราจร,อำนวยการ ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยส่งตัวให้ไปฝึกในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรต่างๆ
  • หลักสูตรฝึกหัดงานสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ฝึกหลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยส่งตัวให้ฝึกในสถานีตำรวจนครบาลต่างๆ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงประดับยศเป็นว่าที่ ร.ต.ต.โดยส่งตัว นรต.ชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้รับการฝึก ณ สถาบันส่งสริมงานสอบสวน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ใช้ระยะเวลาฝึกเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งต่างๆในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66)เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน






0 ความคิดเห็น: