นายเรือ


โรงเรียนนายเรือก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่ตั้งเดิมอยู่ที่บริเวณพระราชวังเดิมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 กองทัพเรือได้ถือเอาวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น วันกองทัพเรือ
ใน พ.ศ. 2495 ได้ย้ายโรงเรียนมาที่ที่อยู่ปัจจุบัน คือ ป้อมเสือซ่อนเล็บ ถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ
การเปิดสอนในช่วงแรก ได้จ้างชาวต่างชาติมาสอน มี นาวาโท ไซเดอร์ลิน ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้บังคับการ ร.ล. มูรธาวสิตสวัสดิ์ ในปี พ.ศ. 2448 นายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปรับปรุงหลักสูตร และอำนวยการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2449-2454


โครงสร้างหน่วย


ธงชัยเฉลิมพลประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนนายเรือมีสถานะเป็นหน่วยราชการในระดับเทียบเท่ากองบัญชาการ มีการจัดส่วนราชการภายในดังนี้
กองบัญชาการ 
มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา วางแผน อำนวยการ ควบคุม และบริหารกิจการของโรงเรียนนายเรือให้บรรจุภารกิจที่กำหนด
กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ 
มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา และฝึกอบรมนักเรียนนายเรือในเรื่องการปลูกฝังนิสัย วินัย จิตวิทยา ความอดทน และลักษณะผู้นำ (หน่วยนี้เดิมเรียกชื่อว่า "กองนักเรียน โรงเรียนนายเรือ" กองทัพเรือได้ยกฐานะเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2521 ในชื่อ "กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ" (กอง นนร.รอ.รร.นร.) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ" ใช้อักษรย่อว่า "กรม นนร.รอ.รร.นร."[1])
ฝ่ายศึกษา 
มีหน้าที่ให้การศึกษาวิชาการอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี และวิชาชีพทหารเรือแก่นักเรียนนายเรือ
ฝ่ายบริการ 
รับผิดชอบงานด้านพลาธิการ การขนส่ง การสาธารณูปโภค อุปกรณ์และเครื่องช่วยการศึกษา การบำรุงรักษาอาคาร สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ ให้บริการทั่วไปและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยต่างๆ ในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งทางวัตถุและองค์บุคคล รวมทั้งเป็นหน่วยในการศึกษาภาคปฏิบัติในโรงงานแก่นักเรียนนายเรือ
กองสถิติและวิจัย 
มีหน้าที่การดำเนินการเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาและทะเบียนประวัติของนักเรียนนายเรือ วิจัยและพัฒนาการฝึกและศึกษา รวมทั้งการสถิติที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ 
รับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลแก่นักเรียนนายเรือ ข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง และครอบครัว ตลอดจนดำเนินการด้านสุขาภิบาล และการเวชกรรมป้องกันในเขตพื้นที่ของโรงเรียนนายเรือ
กองร้อยรักษาความปลอดภัยที่ 6 (หน่วยสมทบ) 
มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงเรียนนายเรือและพื้นที่ในความรับผิดชอบของโรงเรียนนายเรือ


หลักสูตร

หลักสูตรต่าง ๆ จะเปิดสอนตามความต้องการของกองทัพเรือเป็นหลัก โดยปัจจุบัน มีหลักสูตรที่เปิดสอน ดังนี้
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

การส่งนักเรียนนายเรือไทยไปศึกษาต่างประเทศ


นักเรียนนายเรือในเครื่องแบบเต็มยศทหารรักษาพระองค์ สังกัดกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรับปรุงรากฐานของกองทัพเรือตามแบบแผนใหม่แล้ว ได้ทรงส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปศึกษายังต่างประเทศ พระราชโอรสที่ทรงศึกษาวิชาทหารเรือมี ๓ พระองค์คือ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
ต่อมาได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ที่จะบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นักเรียนนายเรือไปศึกษาต่อยังต่างประเทศด้วย ตามประกาศของกรมทหารเรือ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ว่า "ครั้นเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ให้กรมทหารเรือ ฝึกหัดนักเรียนนายเรือให้เรียบร้อย ถ้านักเรียนคนใดได้เล่าเรียนฝึกหัดได้สมควรที่จะส่งไปเล่าเรียนวิชา ณ ต่างประเทศ จะทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์พระราชทานให้กรมทหารเรือส่งนักเรียนออกไปเรียนทุกปี"
นักเรียนนายเรือที่รับพระราชทานทุนการศึกษาชุดแรกคือชุดที่ไปศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๒๔๔๘ มีรายนามดังนี้
  • นนร.ม.จ.เจริญสุขโสภาคย์ เกษมสันต์ (เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๐ ๒๔๗๐-๒๔๗๕ ยศสุดท้าย นาวาโท)
  • นนร.บุญรอด(บุญชัย) สวาทะสุข (พล.ร.ต.พระยาวิจารณ์จักรกิจ ร.น. ได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๑๒ ๒๔๗๖-๒๔๘๑ และผบ.ทร. และอดีตรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง)
  • นนร.แดง ลางคุลเสน (พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี รน.เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๑๑ ๒๔๗๕,๒๔๙๖-๙๘ ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน )
  • นนร.พัน ลางคุลเสน
  • นนร.วงศ์ สุจริตกุล (พล.ร.ต. พระจักรานุกรกิจ ร.น.เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๔ ๒๔๘๑-๘๙)
  • นนร.เจริญ ประทีปะเสน
  • นนร.วาศ พิทศาสตร์
(ในคณะของนักเรียนนายเรือชุดนี้มีนักเรียนสมทบเพื่อไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น อีก ๔ นายคือ ม.จ.เสพโสมนัส เทวกุล นายประทีป บุนนาค นายชัย บุนนาค และนายพร้อม บุณยกะลิน)
นักเรียนนายเรือชุดแรกนี้เมื่อกลับมารับราชการในกองทัพเรือแล้ว ได้มีบทบาทในการสร้างสมุททานุภาพของกองทัพเรือ การพัฒนาการทางช่างของกรมอู่ทหารเรือ และได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศในหลายสาขาจนเป็นที่ประจักษ์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
หลังจากนั้นกองทัพเรือได้จัดส่งนักเรียนนายเรือไปศึกาต่ออีกรุ่นหนึ่งคือ ๒๔๕๙ นนร.สินธุ์ กมลนาวิน ไปศึกษาวิชาการทหารเรือประเทศเดนมาร์ค (อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ สมาชิกคณะราษฎร รัฐมนตรีวาการกระทรวงธรรมการ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงกลาโหม และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ๒๔๖๕ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศอังกฤษ (นนร.ผาด แสงชูโต นนร.สรรใจ บุนนาค นนร.สมพันธุ์ บุนนาค) ๒๔๙๔ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศอังกฤษ (นนร.อำนาจ จันทนะมัฎฐะ นนร.ไพบูลย์ นาคสกุล) ๒๔๙๔ ส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศเนเธอร์แลนด์ (นนร.ประกอบ นิโครธานนท์) ๒๔๙๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสเปน (นนร.เกาะหลัก เจริญรุกข์ นนร.วินัย อินทรสมบัติ) ๒๔๙๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา ๒๔๙๘ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศสวีเดน ๒๔๙๙ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศฝรั่งเศส ๒๕๐๕ เริ่มส่ง นนร.ไปศึกษาประเทศเยอรมัน (นนร.ไพศาล ไล่เข่ง (นพสินธุวงศ์) นนร.เทวินทร์ มุ่งธัญญา)

[แก้]นักเรียนนายเรือไทยในประเทศอังกฤษ

หลังจากส่ง นนร.ไปศึกษายังประเทศญี่ปุ่นชุดแรก (๒๔๔๘)นั้นแล้ว ต่อมากองทัพเรือได้ยึดถือเอาพระราโชบายในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์บุคคล โดยได้จัดส่งนักเรียนนายเรือไปศึกษาต่ออีกหลายประเทศ โดยประเทศแรกที่ส่งไปเรียนคือประเทศอังกฤษ ที่รวบรวมได้มีรายนามดังต่อไปนี้คือ
  • พ.ศ. 2465 นนร.สรรใจ บุนนาค ([2], ศึกษา ณ Loughborough Engineering College, Civil Engineering ยศสุดท้าย พลเรือตรี เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมโยธาธิการทหารเรือ )
  • พ.ศ. 2465 นนร.ฉาด แสง-ชูโต (Loughborough College ยศสุดท้าย พลเรือตรี) เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาโรงงานหล่อหลอมของกรมอู่ทหารเรือด้วยการสร้างเตาคิวโพล่าเป็นครั้งแรก ภายหลังจากออกจากราชการแล้ว ได้ไปพัฒนาระบบบริหารงานโลจิสติกส์ของระบบโรงงานอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2466 นนร.สมพันธุ์ บุนนาค (ศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์,ยศสุดท้าย พลเรือตรี [3] ในตำแหน่งเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ พลเรือตรีสมพันธุ์ บุนนาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทน ไทยไปร่วมประชุมคณะผู้ว่าการทบวงพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย ๓ ครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ๒๕๐๕ และ ๒๕๐๗ และได้ไปประชุมใหญ่ของสหประชาชาติครั้งที่ ๓ เรื่องการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ )
  • พ.ศ. 2494 นนร.อำนาจ จันทนะมัฎฐะ (ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ได้รับการจารึกชื่อในสามัคคีสมาคม กรุงลอนดอน และได้ที่ 1 ของสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับการเชิดชูเกียรติในการเชิญธงชาติไทยขึ้นประดับ ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ทุกวันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปี ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอู่ทหารเรือ ๒๕๓๒-๓๔ ยศสุดท้าย พลเรือเอก [4] ฉบับที่ 84 เล่มที่ 8 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก มจธ. เมื่อ ๒๕๓๓ ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัทพาณิชย์นาวีในตลาดหลักทรัพย์[5] และโรงพยาบาลเอกชน)
  • พ.ศ. 2494 นนร.ไพบูลย์ นาคสกุล (ศึกษา มหาวิทยาลัยลีดส์ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับการจารึกชื่อในสามัคคีสมาคม กรุงลอนดอน ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ยศสุดท้าย พลเรือเอก )
  • พ.ศ. 2503 นนร.บรรพต เอกะวิภาต
  • พ.ศ. 2505 นนร.เกรียงศักดิ์ ศรีภูมิ ยศสุดท้าย พลเรือเอก
  • พ.ศ. 2507 นนร.สุชาติ กลศาสตร์เสนี ยศสุดท้าย พลเรือเอก
  • พ.ศ. 2520 นนร.เอกชัย ตรุศบรรจง (B.Sc.Mechanical Engineering, Manchester, M.Sc.,Ph.D., Imperial College, ปัจจุบัน ยศ พลเรือตรี ทำงานภาคเอกชน) [6]
  • พ.ศ. 2521 นนร.บรรพต กาบคำ
  • พ.ศ. 2522 นนร.เศวตนันท์ ประยูรรัตน์ [7](B.Sc.Mechanical Engineering, Birmingham, Ph.D. Birmingham ปัจจุบัน ยศ พลเรือตรี ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการ องค์การมหาชนสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2520 และรางวัลนักวิจัยดีเด่น)
  • พ.ศ. 2523 นนร.บุญฤทธิ์ โผกรุด (B.Sc.Electrical Engineering,Southampton Univ., Ph.D., Imperial College ปัจจุบัน ยศ พลเรือตรี ทำงานภาคเอกชน ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2521-22)
  • พ.ศ. 2524 นนร.สมัย ใจอินทร์ (B.Sc.Mechanical Engineering, Bristol Univ., M.Sc.,Ph.D. UMIST, Manchester ปัจจุบัน ยศ น.อ.พิเศษ สังกัดอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ได้รับรางวัลเกียรตินิยมการศึกษาดีเด่น รร.เตรียมทหาร 2523 รางวัลเกียรติยศนาวี 2551 รางวัลผู้นำวิทยาศาสตร์พลังงานทางเลือกดีเด่นแห่งชาติสาขาเทคโนโลยีไบโอดีเซล ปี ๒๕๕๒ จาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [8] [9] รายละเอียดการสัมภาษณ์จากนาวิกศาสตร์ ปี่ที่ 87 ฉบับที่ 09 กันยายน 2547 )
  • พ.ศ. 2525 นนร.อัตตะวีร์ ทักษรานุพงศ์ (B.Eng. Manadon, M.Eng. Surray ปัจจุบัน ยศ น.อ.พิเศษ ศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ)
  • พ.ศ. 2526 นนร.นฤเทพ โชคเจริญวานิช (B.Eng. Manadon, M.Eng.,Surray, Ph.D.Imperial) ยศปัจจุบัน นาวาเอกพิเศษ ลาออกจากราชการแล้วและทำงานภาคเอกชน[10]
  • พ.ศ. 2527 นนร.กิตติ กิตติศัพท์ (ชอบทำตัวลึกลับ หายสาบสูญไปจากสารบบ ไม่สามารถติดต่อได้)
  • พ.ศ. 2528 นนร.วิชาญ สีดา และ นนร.บุญสืบ จันทรวงศ์ (ปัจจุบัน ยศ น.อ.)
  • พ.ศ. 2529 นนร.ดนัย ปฏิยุทธ์
  • พ.ศ. 2530 นนร.อภิรักษ์ กลิ่นกุหลาบ
  • พ.ศ. 2532 นนร.กิตติศักดิ์ ดีทองคำ(ปัจจุบัน รับราชการในกรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ)
  • พ.ศ. 2533 นนร.กฤษฎา แสงเพชรส่อง (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Southampton Univ.) ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ รร.นายเรือ
  • พ.ศ. 2534 นร. ศักดา นฤนิรนาท (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Liverpool Univ.) ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ รร.นายเรือ , นนร.กิตติวัฒน์ สุทธิวารี (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Liverpool Univ.) และ นนร. ยศภาค โชติกพงศ์ (B.Eng,Ph.D. Electrical Engineering, Surrey Univ.)
  • พ.ศ. 2535 นนร.ชลัมพ์ โสมาภา (B.Eng,Ph.D. Mechanical Engineering, Liverpool Univ.)(ปัจจุบัน รับราชการในกรมแผนการช่าง กรมอู่ทหารเรือ ได้รับรางวัลด้านงานวิจัยหลายโครงการ)
  • พ.ศ. 2536 นนร.ยอดชาย วงศ์สุวรรณ(E.Eng,Ph.D.Electrical&Electronic Engineering, Cardiff Uni.) และ นนร.สุริยะ ศีรษะโคตร (E.Eng,Ph.D.Electrical&Electronic Engineering, Cardiff Uni.)




0 ความคิดเห็น: